การจองเลือดและส่วนประกอบของเลือด |
-
การทดสอบ : การจองเลือดและส่วนประกอบของเลือด
1.1 Packed Red Cells (PRC)
1.2 Leukocyte Poor Packed Red Cells (LPRC)
1.3 Leukodepleted Packed Red Cells (LD.PRC)
1.4 Fresh Frozen Plasma (FFP)
1.5 Leukodepleted Fresh Frozen Plasma (LD.FFP)
1.6 Leukodepleted Pool Platelet Concentrate (LD.PPC)
1.7 Platelet concentrate
1.8 Single Donor Platelet (SDP)
1.9 Cryoprecipitate
-
Test code :
รายการ
Test code (คีย์ในช่อง Pakage)
ตัวอย่าง
PRC
PRC ตามด้วยจำนวนยูนิตที่แพทย์สั่ง
PRC6
LPRC
LPRC ตามด้วยจำนวนยูนิตที่แพทย์สั่ง
LPRC1
LD.PRC
LDPRC ตามด้วยจำนวนยูนิตที่แพทย์สั่ง
LDPRC3
รายการ
Test code
จำนวนหน่วย
FFP
BA702/F
จำนวนยูนิตตามที่แพทย์สั่ง หรือ
หากแพทย์สั่งเป็นปริมาตรให้คำนวณเป็นจำนวนยูนิต โดย 1 ยูนิตมี ปริมาตรเฉลี่ย 200 mL
LD.FFP
BA701/F
LD.PPC
BA704/F
จำนวนยูนิตตามที่แพทย์สั่ง
Platelet conc.
BA703/F
จำนวนยูนิตตามที่แพทย์สั่ง
SDP
BA706
จำนวนยูนิตตามที่แพทย์สั่ง
Cryoprecipitate
BA705
จำนวนยูนิตตามที่แพทย์สั่ง
-
ค่าตรวจ (ตามสิทธิ์ผู้ป่วย) :
3.1 ราคาค่าตรวจเพื่อการจองเลือดหรือส่วนประกอบของเลือด
Test code
ราคา (บาท)
Package: PRC/LPRC/LDPRC ประกอบด้วยการทดสอบ 4 รายการ
1. BA002/BA003/BA004 (Cross matching-Gel method)
2. BA011.1 (Blood group ABO-Gel method)
3. BA014.1 (Blood group Rh(D)-Gel method)
4. BA008.1 (Antibody screening test-Gel method)
150 หรือ 170 ต่อยูนิต
160 หรือ 200 ต่อราย
90 หรือ 110 ต่อราย
120 หรือ 210 ต่อราย
BA702/F, BA701/F, BA704, BA703/F, BA706, BA705
ไม่คิดค่าตรวจ
3.2 ราคาค่าบริการส่วนประกอบของเลือด (หากมีการเบิกใช้)
รายการ
ราคาต่อยูนิต (บาท)
PRC
540 หรือ 720
LPRC
520 หรือ 890
LD.PRC
1,500 หรือ 2,240
FFP
450 หรือ 650
LD.FFP
550 หรือ 600
LD.PPC
6,000 หรือ 7,760
Leukocyte Depleted Platelet Concentrate
1,600
SDP
7,400หรือ 8,400
Cryoprecipitate
400 หรือ 800
-
ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจ : อยู่ภายใต้การพิจารณาของแพทย์เมื่อผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด ตามข้อบ่งชี้ดังนี้
รายการ
ข้อบ่งชี้
PRC
– เพื่อทดแทนเม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยโลหิตจาง , เสียโลหิตเฉียบพลัน
– ให้ร่วมกับสารน้ำทดแทน เช่น crystalloid หรือ colloid ในราย Acute blood loss
LPRC
– เช่นเดียวกับ PRC
– ป้องกันการเกิด Febrile non-hemolytic transfusion reaction ในผู้ป่วยที่เคยมี
อาการไข้หนาวสั่นหลังรับโลหิต
LD.PRC*
– เช่นเดียวกับ PRC
– สำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับโลหิตเป็นประจำ และมีปฏิกิริยาต่อการรับเม็ดเลือดขาว จึง
จำเป็นต้องลดจำนวนเม็ดเลือด ขาวในโลหิตที่ให้
– ป้องกันการเกิด Febrile non-hemolytic transfusion reaction ในผู้ป่วยที่เคยมี
อาการไข้หนาวสั่นหลังรับโลหิต
FFP
– ใช้ในผู้ป่วยที่ขาด multiple coagulation factors ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออก
ได้แก่
· โรคตับทำงานล้มเหลว และขาด coagulation factors
· Warfarin overdose
· ผู้ป่วยที่ระดับ coagulation factors ลดลง เนื่องจากได้รับโลหิตปริมาณมาก
– DIC
– TTP
LD.FFP*
– เช่นเดียวกับ FFP
– สำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับโลหิตเป็นประจำ และมีปฏิกิริยาต่อการรับเม็ดเลือดขาว จึง
จำเป็นต้องลดจำนวนเม็ดเลือดขาวในโลหิตที่ให้
LD.PPC
– รักษาภาวะโลหิตออกเนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ หรือเกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ
– ป้องกันภาวะโลหิตออกในผู้ป่วยทีมีแนวโน้มเกล็ดเลือดต่ำ เช่น โรคไขกระดูกล้ม
เหลว
Platelet concentrate
– เช่นเดียวกับ LPPC
SDP
– เช่นเดียวกับ LPPC
– เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่จะต้องได้รับเกล็ดเลือดจำนวนมากหรืออย่างต่อเนื่อง เพื่อลด
exposure ต่อแอนติเจนของเม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดจากผู้บริจาค
– ผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องใช้เกล็ดเลือดจากผู้บริจาครายเดียวที่ทดสอบว่าเข้ากันได้
เท่านั้น (Matched SDP Transfusion)
– กรณีหมู่โลหิตหายาก เช่น Rh Negative
Cryoprecipitate
– เพื่อทดแทน Factor VIII ในผู้ป่วยที่ขาด ได้แก่
· von Willebrand disease
· Hemophilia A
· ขาด factor XIII
– เพื่อทดแทน fibrinogen เช่น ในภาวะ DIC
* เป็นส่วนประกอบของเลือดที่ต้องใช้วัสดุในการจัดเตรียมที่มีราคาแพง จึงควรใช้กับ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการปลูกถ่าย
(Transplantation), ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายมาแล้ว, ผู้ป่วยที่คาดว่าจะต้องได้รับโลหิตในระยะยาว, ผู้ป่วยที่จำเป็น
ต้องได้รับการป้องกันการติดเชื้อ CMV จากการรับเลือด
-
การเตรียมผู้ป่วย : ไม่มี
-
สิ่งส่งตรวจ ปริมาณ ภาชนะที่เก็บและวิธีเก็บ :
รายการ
ชนิดสิ่งส่งตรวจ
PRC
– EDTA blood (จุกม่วง) 6 mL
– เด็กอายุ < 1ปี ใช้ EDTA blood (จุกม่วง) 0.5 mL
– เด็กอายุ 0 – 1 เดือน EDTA blood 0.5 mL และต้องเจาะ EDTA blood 6 mL
ของแม่ ส่งมาเพื่อทำการทดสอบด้วย แต่ถ้าไม่สามารถเจาะเลือดแม่ได้โปรดแจ้ง
งานธนาคารเลือด
(ดูคำแนะนำการเก็บสิ่งส่งตรวจ คลิ๊ก)
LPRC
LD.PRC
FFP
– EDTA blood (จุกม่วง) 6 mL
– เด็กอายุ < 1ปี ใช้ EDTA blood (จุกม่วง) 0.5 mL
– ถ้ามีประวัติการรับเลือดแล้วไม่ต้องส่งสิ่งส่งตรวจ โดยหากมีการสั่งจองผ่านระบบ
สารสนเทศ หอผู้ป่วยจะต้องโทรมาแจ้งเลข VN. ที่งานธนาคารเลือด
(ดูคำแนะนำการเก็บสิ่งส่งตรวจ คลิ๊ก)
LD.FFP
LD.PPC
Platelet concentrate
SDP
Cryoprecipitate
– ไม่ต้องใช้สิ่งส่งตรวจ
กรณีผู้ป่วยไม่มีประวัติหมู่เลือด ABO , Rh ที่งานธนาคารเลือด เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทางหอผู้ป่วยเจาะเลือดอีก ครั้ง (Sample confirm) เป็น Capillary Blood (Sodium Heparin : แถบแดง) จำนวน 3 หลอด หรือ EDTA
blood (จุกม่วง) 3 mL เพื่อส่งมาตรวจหมู่เลือดซ้ำก่อนจ่ายเลือดและส่วนประกอบของเลือด
-
การส่งสิ่งส่งตรวจและข้อควรระวัง :
7.1 เพื่อป้องกันการเจาะเลือดผู้ป่วยผิดคน ก่อนเจาะเลือดต้องสอบถามชื่อ-นามสกุล และ HN. ผู้ป่วย หรือตรวจสอบจาก
ป้ายข้อมือผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติการชี้บ่งตัวผู้ป่วยที่ถูกต้อง ให้ถูกต้องตรงกับสติ๊กเกอร์ที่ติดข้างหลอดเลือด และ
ตรวจสอบซ้ำก่อนที่จะใส่ตัวอย่างเลือดลงไป พร้อมลงชื่อผู้เจาะเลือด, วัน เวลาที่เจาะเลือด
7.2 ควรนำตัวอย่างเลือดส่งห้องปฏิบัติการทันที หากยังไม่สามารถส่งได้ให้เก็บที่ตู้เย็น 4oc และส่งภายใน 24 ชั่วโมง
7.3 ควรเจาะเลือดผู้ป่วยใหม่ทุกครั้งที่มีการขอเลือด
-
วัน และเวลาทำการตรวจ : ทุกวันและตลอด 24 ชั่วโมง
-
วิธีวิเคราะห์/หลักการวิเคราะห์ :
9.1 ตรวจหาหมู่เลือดผู้ป่วยด้วยวิธี Column agglutination technique
9.2 ตรวจหาความเข้ากันได้ของเลือด ตามชนิดของส่วนประกอบของเลือดดังนี้
รายการ
วิธีวิเคราะห์/หลักการวิเคราะห์ :
PRC
การทดสอบความเข้ากันได้ระหว่างเลือดผู้ป่วยและผู้บริจาคใช้วิธี Column
agglutination technique (ในผู้ป่วยบางรายอาจใช้วิธี Standard tube test ร่วมด้วย โดยใช้หลักการ Red cell agglutination)
LPRC
LD.PRC
FFP
ไม่มีการทดสอบ โดยจะเลือกหมู่เลือด ABO ที่ตรงกับผู้ป่วย และจะทำการตรวจ
ยืนยันหมู่เลือดผู้บริจาคโดยการทำ Serum grouping
LD.FFP
LD.PPC
ไม่มีการทดสอบ โดยจะเลือกหมู่เลือด ABO ที่ตรงกับผู้ป่วย หากไม่มีและจำเป็นต้อง ใช้เกล็ดเลือดต่างหมู่ต้องได้รับการยินยอมจากแพทย์ผู้รักษา โดยแพทย์จะต้องลง
ลายมือชื่อในใบจองเลือด
Platelet concentrate
SDP
Cryoprecipitate
ไม่ต้องทำการทดสอบใดๆเนื่องจากสามารถให้ได้ทุกหมู่ ABO
-
สิ่งรบกวนการวิเคราะห์ : ตัวอย่างเลือดที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolysis), ตัวอย่างเลือดที่มี Lipemic
-
การประกันเวลาการทดสอบ:
รายการ
การประกันเวลาทดสอบ
PRC
การจองปกติ
· ER, ICU, OR, ไตเทียม = 1 ชั่วโมง
· หอผู้ป่วยทั่วไป, OPD = 2 ชั่วโมง (หากต้องการด่วนควรแจ้งงานธนาคารเลือด
ทราบ)
การจองเพื่อใช้เตรียมผ่าตัด
ภายในวันเวลาที่ผ่าตัด (กรณีที่จองผ่านระบบสารสเทศโปรดระบุวันผ่าตัดบนหลอด
เลือดให้ชัดเจน)
LPRC
LD.PRC
FFP
30 นาที หลังจากมีการแจ้งให้ละลาย
(จะละลายให้เฉพาะรายที่มีการแจ้งเท่านั้น)
LD.FFP
LD.PPC
1 วัน (จึงควรจองล่วงหน้า 1 วัน)
Platelet concentrate
SDP
Cryoprecipitate
30 นาที หลังจากมีการแจ้งให้ละลาย
(จะละลายให้เฉพาะรายที่มีการแจ้งเท่านั้น)
-
การรายงานผล :
12.1 Compatible
12.2 Least Incompatible (กรณีที่ไม่สามารถหาเลือดที่เข้ากันได้เนื่องจากผู้ป่วยมี Autoantibody และแพทย์พิจารณา
จำเป็นต้องให้เลือดยูนิตที่เข้ากัน ได้มากที่สุดแก่ผู้ป่วย
12.3 ผลทางห้องปฏิบัติการที่ต้องรายงานทันที : กรณีที่ไม่สามารถจัดหาเลือดและ ส่วนประกอบของเลือดได้ในระยะเวลาที่กำหนดได้แก่ ผู้ป่วยหมู่ Rh negative, ผู้ป่วยที่ไม่สามารถหาเลือดที่เข้ากันได้ เป็นต้น
-
ระยะเวลาที่สามารถขอตรวจเพิ่มได้ : ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากเก็บสิ่งส่งตรวจ
-
การเก็บสิ่งส่งตรวจหลังการตรวจวิเคราะห์ : เก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส 14 วัน
-
หมายเหตุ :
15.1 การเบิกเลือดและส่วนประกอบของเลือด
15.1.1 การมาเบิก หอผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติดังนี้
– เขียนใบเบิกเลือด เพื่อขอเบิกเลือดและส่วนประกอบของเลือดทุกครั้ง
– เตรียมภาชนะสำหรับการขนส่ง โดย Packed red cell, Plasma ให้ใส่ในกระติกที่มีน้ำแข็ง Ice pack ส่วน
การเบิก Platelet และ Cryoprecipitate ให้ใส่ในกระติกที่ไม่มีน้ำแข็ง
– ขนส่งไปยังหอผู้ป่วยทันที
15.1.2 เบิกตามจำนวนและเวลาที่พร้อมจะให้ผู้ป่วยเท่านั้น ห้ามเบิกไปเก็บไว้ และถ้าไม่สามารถให้ผู้ป่วยได้ภายใน
30 นาที ต้องรีบนำมาฝากหรือคืนเพื่อเก็บรักษาที่งานธนาคารเลือดทันที เนื่องจากเลือดและส่วนประกอบของ
เลือดจะคงคุณภาพดีเมื่อเก็บไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับส่วนประกอบของเลือดชนิดนั้นๆ
15.1.3 ห้ามนำ Platelet และ Cryoprecipitate ที่ละลายแล้ว เก็บในตู้เย็น
15.1.4 เอกสารที่งานธนาคารเลือดจะแนบไปกับการจ่ายเลือดได้แก่ ใบคล้องเลือดและใบแจ้งการให้เลือด
15.2 สิ่งที่ต้องตรวจสอบก่อนการให้เลือดผู้ป่วย
15.2.1 ตรวจสอบคำสั่งการว่าเลือดที่จะให้ถูกชนิด ถูกคน ถูกเวลาหรือไม่
15.2.2 ต้องตรวจสอบว่าชื่อ-สกุล , H.N. , หมายเลขถุงเลือด , หมู่เลือด ที่ใบแจ้งการให้เลือด ใบคล้องเลือด
ถุงเลือดถูกต้องตรงกันหรือไม่ หากไม่ถูกต้องตรงกันจะต้องประสานกับงานธนาคารเลือดทันที
15.2.3 ตรวจสอบว่าเลือดหมดอายุหรือไม่ , ถุงเลือดมีรอยแตกรั่วหรือไม่ , ลักษณะทางกายภาพผิดปกติหรือไม่ เช่น
สีเลือดในถุงเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำ , มีก้อน Clot ในถุง , มี Hemolysis ในถุง เป็นต้น หากพบลักษณะดังกล่าว
ให้นำมาคืนงานธนาคารเลือดทันที
15.2.4 ก่อนการแทงเข็มเพื่อให้เลือดผู้ป่วย พยาบาลผู้ให้เลือดต้องตรวจสอบความถูกต้องโดยสอบถาม ชื่อ-สกุล,
H.N., วันเดือนปีเกิดผู้ป่วย หรือตรวจสอบจากป้ายข้อมือผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติการชี้บ่งตัวผู้ป่วย
15.2.5 เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย หากเกิดข้อสงสัยไม่ว่ากรณีใดๆ กรุณาสอบถามงานธนาคารเลือดทุกครั้งก่อนที่
จะให้เลือดผู้ป่วย
15.3 การอุ่นเลือด
15.3.1 การให้เลือดผู้ป่วยโดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องอุ่นเลือด ยกเว้น ผู้ป่วยผ่าตัดและผู้ป่วยที่จำเป็นต้องให้เลือด
อย่างเร็ว เช่น ผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ให้เลือดในอัตราเร็วกว่า 50 mL/min นานกว่า 30 นาที ผู้ป่วยเด็กที่ให้เลือดใน
อัตราเร็วกว่า 15 mL/kg/hr หรือการเปลี่ยนถ่ายเลือด
15.3.2 การอุ่นเลือดที่ถูกต้องจะต้องใช้เครื่อง blood warmer ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
15.3.3 เลือดที่อุ่นแล้วหรือใช้ไม่หมดให้ทิ้ง ไม่ต้องนำมาคืนธนาคารเลือด และห้ามเก็บแช่ตู้เย็นในหอผู้ป่วย เพราะ
ถ้านำไปใช้กับผู้ป่วยอีก อาจมีอันตรายจากการติดเชื้อที่อาจปนเปื้อนในถุงเลือดและจากเม็ดเลือดแดงแตก
จากการอุ่นเลือด
15.4 การเฝ้าระวังอาการผิดปกติในการให้เลือด
ช่วงเริ่มการให้เลือด 5 นาทีแรกต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพราะหากผู้ป่วยเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงต่อการให้เลือด จะช่วยให้หาทางแก้ไขปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้อย่าง ถูกต้องในทันที เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงแก่ผู้ป่วย อาการที่ควรเฝ้าระวังได้แก่ไข้ขึ้น หนาวสั่น ชัก ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน แน่นหน้าอก ความดันต่ำลง ปวดหลัง ปวดตามแนวหลอดเลือด ปัสสาวะมีสีแดง
หากผู้ป่วยเกิดปฏิกิริยาจากการรับเลือดให้ปฏิบัติดังนี้
1. หยุดเลือดยูนิตที่กำลังให้อยู่ทันที
2. ติดต่อแจ้งแพทย์ผู้รักษาเพื่อรักษาตามอาการและรายงานเจ้าหน้าที่ธนาคารเลือด ด่วน
3. ตรวจสอบดูว่ามีความผิดพลาดใดเกิดขึ้นหรือไม่ ได้แก่ตรวจยูนิตของเลือด ใบคล้องเลือด ผู้ป่วยที่กำลังให้
เลือด (อาจหยิบเลือดมาให้ผิดคน/ผิดถุง) หากพบความผิดพลาดต้องระงับการให้เลือดยูนิตนั้นทันที
4. หากไม่พบความผิดพลาดในข้อ และแพทย์สงสัยว่าอาการแทรกซ้อนนั้นเกิดจากการให้เลือด/ส่วนประกอบ
ของเลือดและสั่งยุติการให้ หอผู้ป่วยต้องเจาะเลือดผู้ป่วยใหม่(EDTA Blood 6 mL) ด้วยความระมัดระวัง
เพื่อป้องกันเม็ดเลือดแดงแตกจากการเจาะเลือด แล้วนำเลือดผู้ป่วยที่เจาะใหม่และเลือดยูนิตนั้น พร้อม
บันทึกอาการแทรกซ้อนนั้นในแจ้งการให้เลือด (หัวข้อการเฝ้าระวังอาการผิดปกติ) รีบนำส่งงานธนาคารเลือด
ทันทีเพื่อดำเนินการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการต่อไป
5. งานธนาคารเลือดจะตรวจค้นหาสาเหตุของ Transfusion Reaction มีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้
5.1 การตรวจว่าเป็นถุงเลือดที่เตรียมให้ผู้ป่วยหรือไม่ มีสลับกับรายอื่นหรือไม่
5.2 การตรวจหา Visual check for hemolysis
5.3 การตรวจทาง Serologic Investigation ตรวจหมู่เลือดผู้ป่วยก่อนและหลังให้เลือด ตรวจเลือดในถุงว่า
ตรงกันหรือไม่ และเข้ากับผู้ป่วยหรือไม่
5.4 การตรวจค้นอื่นๆเพิ่มเติม แต่การตรวจค้นเบื้องต้นต้องสามารถ exclude acute hemolytic transfusion
reaction คือการให้เลือดผิดหมู่ได้
6. กรณีที่ตรวจพบว่าให้เลือดผิดหมู่ควรปฏิบัติ ดังนี้
6.1 หยุดการให้เลือด และให้9%NSS 1,000 mL ทันที พร้อมกับเปลี่ยนชุดที่ให้สารละลาย
6.2 ตรวจวัดสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที จนกว่าจะคงที่ และลงบันทึก
6.3 รายงานแพทย์ และเจ้าหน้าที่ธนาคารเลือด
6.4 เตรียมออกซิเจน และยาที่จำเป็นไว้ เช่น ยาขับปัสสาวะ
6.5 เจาะเลือดเพื่อตรวจ Serologic Investigation ทางห้องปฏิบัติการธนาคารเลือด และ ค่า BUN,
Creatinine เพื่อเป็น baseline ในการติดตาม เฝ้าระวังภาวะทางไตของผู้ป่วย
6.6 ลงบันทึกจำนวนปัสสาวะ และสีของปัสสาวะ
15.5 การคืน/การฝากเลือด
15.5.1 เลือดและส่วนประกอบของเลือดที่เบิกไปแล้วยังไม่ได้ใช้ต้องนำกลับมาคืน/ฝาก เพื่อเก็บรักษาไว้ใน
อุณหภูมิที่เหมาะสมที่งานธนาคารเลือดทันที (ภายในเวลา 30 นาที) พร้อมนำใบแจ้งการให้เลือดมาด้วย
15.5.2 เลือดและส่วนประกอบของเลือดที่งานธนาคารเลือดจะรับคืน/ฝาก ใช้เกณฑ์พิจารณาดังนี้
– นำออกจากธนาคารเลือดไม่เกิน 30 นาที
– จะต้องไม่ผ่านการอุ่น (warm)
– เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2-10 °C
– ต้องมีสายถุงบรรจุโลหิตอย่างน้อย 1 ปล้อง ติดอยู่กับยูนิตของถุง
15.6 การปลดเลือด
เพื่อให้มีเลือดหมุนเวียนใช้ให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วยในโรงพยาบาลงานธนาคารเลือดจึงกำหนดระยะ
เวลาในการปลดเลือดดังนี้
15.6.1 เลือดที่จองใช้ในหอผู้ป่วย
– จองช่วงเวลา 30 น. – 16.30 น.
กรณีที่ 1 หากไม่ได้เบิกใช้เลย จะถูกปลดในเวลา 8.30 น. ของวันถัดไปเช่น วันจันทร์ เวลา 13.00 น.จอง
เลือดจำนวน 2 ยูนิต แต่ไม่มีการเบิกเลือด ทั้งหมดจะถูกปลดวันอังคาร เวลา 8.30 น.
กรณีที่ 2 หากมีการเบิกใช้ภายในวันนั้น เลือดที่เหลืออยู่ไม่มีการเบิกอีกจะถูกปลดในเวลา 8.30 น.
ของ 2 วันถัดไป เช่น วันจันทร์ เวลา 13.00 น. จองเลือดจำนวน 2 ยูนิต เบิกใช้ในวันจันทร์ 1 ยูนิต
เหลือ 1 ยูนิต ภายในวันอังคารไม่มีการเบิกอีก จะถูกปลดวันพุธ เวลา 8.30 น.
– ถ้าจองหลังเวลา 30 น. ถ้าไม่ได้เบิกใช้เลย จะถูกปลดในเวลา 8.30 น. ของ 2 วันถัดไป เช่น จองวันจันทร์
เวลา 16.30 น.จะถูกปลด วันพุธ เวลา 8.30 น.
15.6.2 เลือดที่จองผ่าตัด
– หากไม่มีการเบิกใช้เลือดเลยตามวันที่ที่ระบุว่าจะทำการผ่าตัด จะถูกปลดในเวลา 8.30 น. ของวันถัดไป
– หากมีการเบิกใช้บ้างจะเก็บเลือดที่เหลือไว้ให้เพิ่มอีก 1 วัน
15.6.3 กรณีเลื่อนการผ่าตัดหรือยังคงต้องการใช้เลือดต่อ ให้ติดต่องานธนาคารเลือดก่อนเวลา 9.00 น. เพื่อ
พิจารณาว่าเลือดที่เตรียมไว้ยังเหมาะสมที่จะ ให้แก่ผู้ป่วยรายนั้นอยู่หรือไม่
15.7 การดำเนินการเมื่อไม่สามารถจัดหาเลือดและส่วนประกอบของเลือดได้ในเวลาที่กำหนด
15.7.1 ผู้ป่วยมีหมู่เลือด Rh negative (หมู่ Rh negative เป็นหมู่เลือดหายากจะไม่มีสำรองในธนาคารเลือด)
– งานธนาคารเลือดแจ้งเป็นค่าวิกฤติแก่หอผู้ป่วย
– หอผู้ป่วยแจ้งแพทย์ เพื่อพิจารณาการรักษา และระดับความเร่งด่วน
– หอผู้ป่วยต้องแจ้งระดับความเร่งด่วนต่องานธนาคารเลือดเพื่อพิจารณาดำเนินการจัดหาเลือดต่อไป
15.7.2 ผู้ป่วยที่หาเลือดเข้ากันได้ยาก
– งานธนาคารเลือดแจ้งเป็นค่าวิกฤติแก่หอผู้ป่วย
– หอผู้ป่วยแจ้งแพทย์ เพื่อพิจารณาการรักษา และระดับความเร่งด่วน
– งานธนาคารเลือดจะดำเนินการจัดหาและจัดเตรียมเลือดให้ได้ตามสถานการณ์ซึ่งขึ้นอยู่กับภาวะของผู้ป่วย
แต่ละราย
– ในบางรายจำเป็นต้องส่งเลือดผู้ป่วยไปที่ห้องปฏิบัติการเม็ดเลือดแดงของศูนย์บริการโลหิตฯ เพื่อช่วยหา
เลือดที่เข้ากันได้ให้แก่ผู้ป่วย สิ่งส่งตรวจที่ ต้องใช้ได้แก่ Clotted blood 6 mL จำนวน 5 หลอด และ
EDTA blood 6 mL จำนวน 1 หลอด (อาจต้องใช้สิ่งส่งตรวจอื่นๆ ตามที่ศูนย์บริการโลหิตต้องการ)