Out lab

หน่วยรับส่งต่อ

               หน่วยรับส่งต่อ หมายถึง ห้องปฏิบัติการส่งต่อที่กลุ่มงานพยาธิวิทยาคัดเลือกให้เป็นห้องปฏิบัติการในการรับช่วงเพื่อทำการตรวจ  วิเคราะห์รายการตรวจที่กลุ่มงานพยาธิวิทยาไม่ได้เปิดให้บริการ   โดยเป็นห้องปฏิบัติการของหน่วยงานราชการที่มีศักยภาพ และหน่วยงานเอกชนที่ผ่านการรับรองระบบคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ เช่น มาตรฐาน ISO 15189, ระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ 2565 (LA) เป็นต้น โดยห้องปฏิบัติการส่งต่อที่กลุ่มงานพยาธิวิทยาใช้บริการอยู่ได้แก่
  1. บริษัท เนชั่น เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ จำกัด (N.Health)
    รับบริการตรวจวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยาคลินิก และ PAP smear โดย
    1.1 ระบุรายการที่ต้องการส่งตรวจได้ 2 ช่องทาง
          – ช่องทางที่ 1 ใบสั่งตรวจของบริษัทนชั่น เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ จำกัด 
          – ช่องทางที่ 2 ทางระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล
    1.2 เก็บสิ่งส่งตรวจตามที่แจ้งในแต่ละรายการตรวจ คลิ๊ก 
    1.3 ระยะเวลาการรายงานผล ตามที่แจ้งในแต่ละรายการตรวจ
    1.4 การรายงานผล : ติดต่อรับใบรายงานผลที่
          • ห้องเจาะเลือดอาคารนวราชจักรี ชั้น 3 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 6.30-24.00 น.หมายเลขโทรศัพท์ 0-2548-1000 ต่อ 80317
  1. บริษัทกรุงเทพ อาร์ไอเอ แล็บ จำกัด (BRIA LAB)
    รับบริการตรวจวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยากายวิภาค (ชิ้นเนื้อ และเซลวิทยา) โดย
    2.1 ระบุรายละเอียดในใบสั่งตรวจ ได้แก่ข้อมูลผู้ป่วย, ตำแหน่งที่เก็บสิ่งส่งตรวจ, การวินิจฉัยเบื้องต้น, ชื่อ-นามสกุล แพทย์ วันที่นัดตรวจผู้ป่วยในครั้งต่อไป และรายละเอียดสำคัญอื่นๆ (ใบสั่งตรวจชิ้นเนื้อ)(ใบสั่งตรวจเซลวิทยา)  
    2.2 ระยะเวลาการรายงานผล ตามที่แจ้งในแต่ละรายการตรวจ
    2.3 การรายงานผล: ติดต่อรับใบรายงานผลที่
          • ห้องเจาะเลือดอาคารนวราชจักรี ชั้น 3 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 6.30-24.00 น.หมายเลขโทรศัพท์ 0-2548-1000 ต่อ 80317
    2.4 การขอยืม Slide/Block
          2.4.1 เตรียมเอกสารในการยืมได้แก่
                   • สำเนาผลการตรวจที่ต้องการยืม Slide/Block
                   • สำเนาบัตรประชาชนผู้ป่วย
          2.4.2 นัดวันเวลาเพื่อมารับ Slide/Block
    2.5 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่โทร. 80317
  1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
    รับบริการตรวจวิเคราะห์เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคติดเชื้อต่างๆ โดย
    3.1 ระบุรายละเอียดในใบสั่งตรวจ คลิ๊ก http://nih.dmsc.moph.go.th/login/alls.php?topic=5
    3.2 แนวทางการเก็บสิ่งส่งตรวจ คลิ๊ก http://nih.dmsc.moph.go.th/login/alls.php?topic=2     
    3.3 ระยะเวลาการรายงานผล ตามที่แจ้งในแต่ละรายการตรวจของทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
    3.4 การรายงานผล : ติดต่อรับใบรายงานผลที่
       • ห้องเจาะเลือดอาคารนวราชจักรี ชั้น 3 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 6.30-24.00 น.หมายเลขโทรศัพท์ 0-2548-1000 ต่อ 80317
    3.5 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่โทร. 80317
  1. สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
    รับบริการ
         – ตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี-1 วิธี DNA-PCR ในเด็กที่คลอดจากแม่ติดเชื้อ
         – ตรวจเอชแอลเอบี 15:02อัลลีล  (HLA:B*15:02 allele) ด้วยปฏิกิริยาพีซีอาร์
         – ตรวจเอชแอลเอบี 57:01อัลลีล  (HLA:B*57:01 allele) ด้วยปฏิกิริยาพีซีอาร์
         – ตรวจเอชแอลเอบี 58:01อัลลีล  (HLA:B*58:01 allele) ด้วยปฏิกิริยาพีซีอาร์
    4.1 ระบุรายละเอียดในใบสั่งตรวจ คลิ๊ก
    4.2 แนวทางการเก็บสิ่งส่งตรวจ คลิ๊ก                                       
    4.3 ระยะเวลาการรายงานผล ตามที่แจ้งในแต่ละรายการตรวจของทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
    4.4 การรายงานผล: ติดต่อรับใบรายงานผลที่
         • ห้องเจาะเลือดอาคารนวราชจักรี ชั้น 3 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 6.30-24.00 น.หมายเลขโทรศัพท์ 0-2548-1000 ต่อ 80317
    4.5 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่โทร. 80317
  1. ห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
    รับบริการตรวจวิเคราะห์ Viral load และ Drug resistance
    5.1 ใบสั่งตรวจ Viral load และหรือ Drug resistance
    5.2 แนวทางการเก็บสิ่งส่งตรวจ
          – EDTA Blood 10 mL จำนวน 1 หลอด
    5.3 ระยะเวลาการรายงานผล
          – 2 สัปดาห์
    5.4 การรายงานผล : ติดต่อรับใบรายงานผลที่
         • ห้องเจาะเลือดอาคารนวราชจักรี ชั้น 3 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 6.30-24.00 น.หมายเลขโทรศัพท์ 0-2548-1000 ต่อ 80317
    5.5 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่โทร. 80317
  1. ห้องปฏิบัติการส่งต่อเพื่อตรวจวิเคราะห์โรคอุบัติใหม่ โดยต้องผ่านการสอบสวนโรคและมีการประสานงานแจ้งสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ห้องปฏิบัติการส่งต่อที่ได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจวิเคราะห์ ได้แก่   
    6.1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รับบริการ    
          • ตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) ด้วยวิธี real-time PCR
          • ตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสอีโบลาด้วยวิธี real-time PCR
       6.1.1 ระบุรายละเอียดในใบส่งตรวจ (รับแบบฟอร์มที่ห้องปฏิบัติการภูมิคุ้มกันวิทยา)
              6.1.1.1 แบบฟอร์มส่งตรวจสำหรับส่งตรวจ MERS-CoV  
              6.1.1.2แบบฟอร์มส่งตรวจสำหรับส่งตรวจ ไวรัสอีโบลา  
          6.1.2  แนวทางการเก็บสิ่งส่งตรวจ (รับชุดเก็บสิ่งส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการภูมิคุ้มกันวิทยา)
              6.1.2.1 MERS-CoV
                          – เก็บ nasopharyngeal swab ร่วมกับ throat swab ใส่ใน VTM หลอดเดียวกัน
                          – บรรจุ VTM ลงในถุงซิป 3 ชั้น และนำใส่กระป๋อง แช่ในกล่องโฟมที่มี ICEPACK เพื่อนำส่งตรวจกรม
                            วิทย์ฯภายใน 72 ชั่วโมง
              6.1.2.2 ไวรัสอีโบลา
                           – EDTA blood ปริมาตร 3 mL จำนวน 2 หลอด
                           – Clotted blood ปริมาตร 5 mL จำนวน 2 หลอด
                           – บรรจุหลอดเลือดลงในถุงซิป 3 ชั้นโดยให้มีกระดาษซับในถุงชั้นที่1
                           – นำถุงซิปใส่กระป๋องที่ติดสัญลักษณ์ “BIOHAZARD”เพื่อรอส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
                           – เจ้าหน้าที่จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะมารับตัวอย่างที่หอผู้ป่วยโดยผ่านการประสานงานจาก
                             สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
          6.1.3 ระยะเวลาการรายงานผลภายใน  1-2 วันทำการ โดยห้องปฏิบัติการจะโทรแจ้งหอผู้ป่วยให้มารับผล
          6.1.4 การรายงานผล ติดต่อรับใบรายงานผลที่ อาคารนวราชจักรี ชั้น 3 หมายเลขโทรศัพท์ 0-25481000
                   ต่อ 80317,80330
          6.1.5 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่โทร. 80328 และ 80330
    6.2 ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี  
          รับบริการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ด้วยวิธี RT-PCR    
          6.2.1 แบบฟอร์มสอบสวนโรคและใบส่งตรวจจากสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
          6.2.2 แนวทางการเก็บสิ่งส่งตรวจ
                   – EDTA blood ปริมาตร 3 ml จำนวน 1 หลอด
                   – Urine ปริมาตร 20-60 mL จำนวน 2 กระป๋อง
          6.2.3 ระยะเวลาการรายงานผล
                   – ภายใน 7 วันทำการ หลังส่งตัวอย่าง
          6.2.4 การรายงานผล
                   – ติดต่อรับใบรายงานผลที่ อาคารนวราชจักรี ชั้น 3 หมายเลขโทรศัพท์ 0-25481000 ต่อ 80317,80330
          6.2.5 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่โทร. 80317 และ 80328
  1. PCT Laboratory
    รับบริการตรวจวินิจฉัยโรค Leukemia, Lymphoma, PNH, MDS โดยใช้หลักการ Flow cytometry for Leukemia, Lymphoma
    7.1 ระบุรายละเอียดในใบสั่งตรวจ 
    7.2 แนวทางการเก็บสิ่งส่งตรวจ
          • Flow cytometry for Leukemia, Lymphoma ใช้ EDTA หรือ Heparin Blood 6 mL/Bone marrow 3 mL
              ส่งภายใน 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้อง
    7.3 ระยะเวลาการรายงานผล
          • Flow cytometry for Leukemia, Lymphoma     3 วัน
    7.4 การรายงานผล: ติดต่อรับใบรายงานผลที่
          • ห้องเจาะเลือดอาคารนวราชจักรี ชั้น 3 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 6.30-24.00 น.หมายเลขโทรศัพท์ 0-2548-1000 ต่อ 80317
    7.5 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่โทร. 80317
  1. สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
    รับบริการตรวจวิเคราะห์หาเชื้อวัณโรค และทดสอบความไวต่อสารต้านจุลชีพ โดยวิธี Conventional method
    8.1ระบุรายละเอียดในใบสั่งตรวจของงานจุลชีววิทยาคลินิก โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีเลือก TB culture
    8.2 แนวทางการเก็บสิ่งส่งตรวจเก็บเสมหะตอนเช้าหลังตื่นนอน ปริมาตร 3-5 mL ใส่ในภาชนะปราศจากเชื้อ นำส่งห้อง
          ปฏิบัติการ
    8.3 ระยะเวลาการรายงานผล 3 เดือน
    8.4 การรายงานผล: ติดต่อรับใบรายงานผลที่
         • ห้องเจาะเลือดอาคารนวราชจักรี ชั้น 3 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 6.30-24.00 น.หมายเลขโทรศัพท์ 0-2548-1000 ต่อ 80317
    8.5 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่โทร. 80317