การขอเลือดแบบ Massive Transfusion |
-
การทดสอบ :
1.1 จอง Packed red cells (PRC) 6 ยูนิต
1.2 จอง Fresh frozen Plasma (FFP) 4 ยูนิต (1,000 mL)
1.3 Leukodepleted Pool Platelet Concentrate (LD.PPC) 1 ยูนิต
-
Test code :
ต้องใช้ใบจองเลือดสำหรับ Massive Transfusion (คลิ๊ก) ซึ่งหมายถึงการขอใช้เลือดและส่วนประกอบของเลือดเป็นชุดอย่างต่อเนื่อง โดยศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์เท่านั้นที่จะ เป็นผู้พิจารณาการใช้เลือดแบบ Massive Transfusion และต้องลงลายมือชื่อยินยอม (หากแพทย์อยู่ระหว่างทำหัตถการให้ลง รคส.แพทย์ผู้รักษา) โดย 1 ชุดประกอบด้วย
2.1 PRC6
เป็นการเตรียมเลือดแบบ Complete x-match แต่หากระหว่างการรักษาแพทย์ พิจารณาแล้วว่าไม่สามารถรอได้ถึงขั้นตอนที่สมบูรณ์ แพทย์จะขอให้จ่ายเลือดชุดนั้นมาก่อน (เท่ากับการของเลือดตรงหมู่แบบ Uncrossmatch, Group specific red cells)
2.2 FFP 1,000 mL ที่ตรงหมู่กับผู้ป่วย
– BA702/F ระบุจำนวนหน่วย 5 หน่วย
2.3 LD.PPC จำนวน 1 ยูนิต ที่ตรงหมู่กับผู้ป่วย หากขณะนั้นมีเกล็ดเลือดที่ตรงหมู่ แต่มีหมู่อื่นให้แจ้งแพทย์เพื่อพิจารณาก่อน
– BA704/F ระบุจำนวนหน่วย 1 หน่วย
เมื่อมีการเบิกใช้เลือด/ส่วนประกอบของเลือด งานธนาคารเลือดจะจัดเตรียมชุดต่อไปทันทีโดยไม่ต้องรอคำสั่ง จนกว่าแพทย์จะสั่งยุติการใช้ เลือดแบบ Massive Transfusion
-
ค่าตรวจ (ตามสิทธิ์ผู้ป่วย) :
3.1 ราคาค่าตรวจเพื่อการจองเลือดหรือส่วนประกอบของเลือด
Test code
ราคา (บาท)
Package: PRC6
1. BA002 (Cross matching-Gel method)
2. BA011.1 (Blood group ABO-Gel method)
3. BA014.1 (Blood group Rh(D)-Gel method)
4. BA008.1 (Antibody screening test-Gel method)
150 หรือ 170 ต่อยูนิต
160 หรือ 200 ต่อราย
90 หรือ 110 ต่อราย
120 หรือ 210 ต่อราย
BA702/F, BA701/F, BA704, BA703/F, BA706, BA705
ไม่คิดค่าตรวจ
3.2 ราคาค่าบริการส่วนประกอบของเลือด (หากมีการเบิกใช้)
รายการ
ราคาต่อยูนิต (บาท)
PRC
กรณีที่ไม่มี PRC จำเป็นต้องให้ LPRC หรือ LDPRC
– LPRC
– LDPRC
540 หรือ 720
520 หรือ 890
1,500 หรือ 2,240
FFP
450 หรือ 650
LD.PPC
6,000 หรือ 7,760
-
ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจ : ผู้ป่วยที่มีภาวะเลียเลือดระดับ 3 ขึ้นไป และมีอาการเสียเลือดอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ไม่สามารถควบคุมการออกของเลือดได้ ผู้ป่วยมีสัญญาณชีพไม่คงที่ โดยศัลยแพทย์ หรือวิสัญญีแพทย์เท่านั้นที่จะเป็นผู้พิจารณาให้มีการใช้เลือดแบบ Massive Transfusion (การเสียเลือดระดับ 3 หมายถึง ผู้ป่วยมีภาวะเสียเลือดในปริมาณที่มากกว่า 30% ของปริมาณเลือดในร่างกาย)
-
การเตรียมผู้ป่วย : ไม่มี
-
สิ่งส่งตรวจ ปริมาณ ภาชนะที่เก็บและวิธีเก็บ : EDTA blood (จุกม่วง) 6 mL จำนวน 3 หลอด
(ดูคำแนะนำการเก็บสิ่งส่งตรวจ คลิ๊ก)
-
การส่งสิ่งส่งตรวจและข้อควรระวัง :
7.1 เพื่อป้องกันการเจาะเลือดผู้ป่วยผิดคน ก่อนเจาะเลือดต้องสอบถามชื่อ-นามสกุล และ HN. ผู้ป่วย หรือตรวจสอบจาก
ป้ายข้อมือผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติการชี้บ่งตัวผู้ป่วยที่ถูกต้อง ให้ถูกต้องตรงกับสติ๊กเกอร์ที่ติดข้างหลอดเลือด และ
ตรวจสอบซ้ำก่อนที่จะใส่ตัวอย่างเลือดลงไป
7.2 ต้องนำตัวอย่างเลือดส่งห้องปฏิบัติการทันที
-
วันและเวลาทำการตรวจ : ทุกวันและตลอด 24 ชั่วโมง
-
วิธีวิเคราะห์/หลักการวิเคราะห์ :
9.1 ตรวจหาหมู่เลือดผู้ป่วยด้วยวิธี Column agglutination technique หลักการ Red cell agglutination
9.2 การทดสอบความเข้ากันได้ระหว่างเลือดผู้ป่วยและผู้บริจาคใช้วิธี Column agglutination technique โดยใช้หลักการ Red cell agglutination
-
สิ่งรบกวนการวิเคราะห์ : ตัวอย่างเลือดที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolysis), ตัวอย่างเลือดที่มี Lipemic
-
การประกันเวลาการทดสอบ:
รายการ
การประกันเวลา
PRC
– Complete x-match 45 นาที
– Uncrossmatch , Group specific red cells 10 นาที
FFP
30 นาที
LD.PPC
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
-
การรายงานผล :
12.1 Compatible
12.2 Incomplete x-match (หากแพทย์ต้องการให้จ่ายเลือดแบบ Uncrossmatch, Group specific red cells)
-
ระยะเวลาที่สามารถขอตรวจเพิ่มได้ : ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากเก็บสิ่งส่งตรวจ
-
การเก็บสิ่งส่งตรวจหลังการตรวจวิเคราะห์ : เก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส 14 วัน
-
หมายเหตุ :
15.1 ควรโทรประสานงานกับงานธนาคารเลือดก่อน เพื่อความรวดเร็วและการติดตาม
15.2 ทั้งนี้ในภาวะเร่งด่วนธนาคารเลือดอาจจำเป็นต้องพิจารณาเปลี่ยนชนิดของผลิตภัณฑ์ทั้งนี้ขึ้นกับสถานการณ์ขณะ
นั้นๆ เช่นเปลี่ยน PRC เป็น LPRC หรือ เปลี่ยน LD.PPC เป็น SDP เป็นต้น