การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ

การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

เกณฑ์ปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ (Specimen rejection criteria)
    คุณภาพของสิ่งส่งตรวจมีผลต่อความถูกต้องของผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ดังนั้นกลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิกและเทคนิคการแพทย์ จึงมีการกำหนดเกณฑ์ในการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจดังนี้
  1. ไม่ติด ชื่อ-นามสกุล ของผู้ป่วยที่สิ่งส่งตรวจ
  2. ชื่อ-นามสกุลของผู้ป่วยที่สิ่งส่งตรวจและใบสั่งตรวจไม่ตรงกัน
  3. ไม่ระบุรายการตรวจ
  4. ไม่มีตัวอย่างตรวจ
  5. ชนิดสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้องตรงกับรายการตรวจ
  6. ภาชนะรั่วซึม
  7. บันทึกรายการตรวจในระบบ HIS ไม่ถูกต้อง
  8. มีการส่งตรวจซ้ำซ้อน
  9. เก็บสิ่งส่งตรวจใส่ภาชนะ/ transport medium ผิดประเภท
  10. เก็บสิ่งส่งตรวจผิดคน
  11. อุณหภูมิในการนำส่งไม่เหมาะสม
  12. พบการแข็งตัวของเลือดส่งตรวจ CBC , PT , PTT หรือ มีการแข็งตัวของ Body Fluid
  13. ปริมาณสิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม
     13.1 ไม่ถึงขีดที่กำหนดไว้
     13.2 เกินขีดที่กำหนด
     13.3 ไม่เพียงพอต่อการทดสอบ
  14. พบมีการแตกของเม็ดเลือดแดงในระดับที่มีผลกระทบต่อการทดสอบ (Hemolysis)
  15. พบสารรบกวนการตรวจ เช่น ซีรั่มเหลือง (Icteric serum) หรือซีรั่มขุ่นมีไขมัน (Lipemic serum)  เป็นต้น
  16. พบว่าเสมหะที่มี Squamous epithelium cells มากกว่า  10  cells/LPF
  17. ไม่มีชื่อผู้เจาะเลือด วัน เวลา ที่เจาะ บนฉลากที่ติดบนหลอด (เฉพาะกรณีที่จองเลือดและส่วนประกอบของเลือด และ Sample confirm)
หมายเหตุ :  เกณฑ์รายการที่  14 ถึง 16 ทางห้องปฏิบัติการจะพิจารณาความเหมาะสม หากยังสามารถยอมรับ เช่น บางรายการตรวจพบว่ามี Hemolysis ในระดับ 1+ ถึง 2+ (เล็กน้อย ถึง ปานกลาง)  จะทำการตรวจ และลงบันทึกแจ้งชี้บ่งในใบรายงานผล เพื่อให้แพทย์ทราบต่อไป
 .
การดำเนินการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ
  1. เจ้าหน้าที่กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิกและเทคนิคการแพทย์ที่พบว่าสิ่งส่งตรวจอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปฏิเสธสิ่งส่งตรวจโทรแจ้งหน่วยงานที่ส่งตรวจทันที  โดยห้องปฏิบัติการจะเก็บสิ่งส่งตรวจนั้นไว้เพื่อทำลายอย่างถูกต้องต่อไป
  2. เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยพิจารณาเก็บสิ่งส่งตรวจใหม่อย่างถูกต้องอีกครั้ง และนำส่งห้องปฏิบัติการทันที